วัตถุดิบของเรา

กระชายดำ

Black Ginger

กระชายดำ (Kaempferia parviflora) เป็นพืชวงศ์ขิง (Zingiberaceae) มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและลาว ปลูกขึ้นในพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ผู้คนในแถบนี้ได้ใช้กระชายดำเพื่อส่งเสริมและบำรุงสุขภาพ เช่น ช่วยการทำงานของระบบเผาผลาญอาหารและระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยรักษาแผล ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มกำลังวังชาในฐานะยาบำรุงตำรับดั้งเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ สารประกอบสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพในกระชายดำ คือ ฟลาโวนอยด์ (Favonoids) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านภูมิแพ้ และมีฤทธิ์ช่วยการขยายหลอดเลือด เป็นต้น

จากผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยและการศึกษาทางคลินิก ซึ่งบางส่วนมีบทคัดย่ออยู่ในเอกสารอ้างอิงด้านล่างนี้ มีหลักฐานอันเป็นที่ประจักษ์ได้ว่ากระชายดำดีต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน เช่น ในผลงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของสารสกัดกระชายดำที่มีต่อการกระตุ้นยีนส์เซอร์ทูอินเพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาว พบว่ากระชายดำมีฤทธิ์ในการต่อต้านความแก่ชรา (Anti-Aging) มากกว่าสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) อย่างมีนัยสำคัญ

ในการทดลองอื่นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระชายดำในการยับยั้งกระบวนการไกลเคชั่น ซึ่งเป็นตัวชี้บ่งอย่างหนึ่งของความแก่ชรา พบว่ากระชายดำมีฤทธิ์ต่อต้านความแก่ชราของผิวโดยเห็นผลที่ชัดเจนต่อรอยด่างน้ำตาลดำบนผิวที่เกิดขึ้นตามวัย นอกจากนี้ในการทดลองจริงกับผู้ป่วยที่มีเป็นเบาหวานประเภท 2 และผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนผิดปกติ ก็พบหลักฐานที่ชัดเจนว่ากระชายดำมีฤทธิ์ในการลดระดับการดื้ออินซูลิน และมีฤทธิ์ยับยั้งการสะสมของไขมัน

ในส่วนการทดสอบตามมาตรฐานด้านอาหารและยา ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่ากระชายดำมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภค โดยสามารถชงดื่มเป็นชา หรือจะรับประทานเป็นอาหารเสริมในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูลก็ได้

อ้างอิง
  1. Horikawa T, Shimada T, Okabe Y, Kinoshita K, Koyama K, Miyamoto K, Ichinose K, Takahashi K, Aburada M. Polymethoxyflavonoids from Kaempferia parviflora induce adipogenesis on 3T3-L1 preadipocytes by regulating transcription factors at an early stage of differentiation. Biol Pharm Bull. 2012;35(5):686-92.
  2. Akase T, Shimada T, Terabayashi S, Ikeya Y, Sanada H, Aburada M. Antiobesity effects of Kaempferia parviflora in spontaneously obese type II diabetic mice. J Nat Med. 2011 Jan;65(1):73-80. doi: 10.1007/s11418-010-0461-2.
  3. Shimada T, Horikawa T, Ikeya Y, Matsuo H, Kinoshita K, Taguchi T, Ichinose K, Takahashi K, Aburada M. Preventive effect of Kaempferia parviflora ethyl acetate extract and its major components polymethoxyflavonoid on metabolic diseases. Fitoterapia. 2011 Dec;82(8):1272-8. doi: 10.1016/j.fitote.2011.08.018.
  4. Malakul W, Ingkaninan K, Sawasdee P, Woodman OL. The ethanolic extract of Kaempferia parviflora reduces ischaemic injury in rat isolated hearts. J Ethnopharmacol. 2011 Sep 1;137 (1):184-91.
  5. JintanapornWattanathorn,SupapornMuchimapura, Terdthai Tong-Un, Narisara Saenghong,3 WipaweeThukhum-Mee, and BungornSripanidkulchai. Positive Modulation Effect of 8-Week Consumption of Kaempferiaparviflora on Health-Related Physical Fitness and Oxidative Status in Healthy Elderly Volunteers. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. (2012), 732816:7.
Related Products
Related Information
  • บทความ
    การชะลอวัย


  • บทความ
    แอนตี้ออกซิเดชั่น


  • บทความ
    แอนตี้-ไกลเคชั่น


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution