วัตถุดิบของเรา

น้ำผึ้งมานูก้า

น้ำผึ้งมานูก้า

น้ำผึ้งมานูก้า เป็นน้ำผึ้งที่ได้มาจากดอกมานูก้า (Leptospermum scoparium) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของประเทศนิวซีแลนด์ มีลักษณะต้นเป็นไม้พุ่มที่อยู่ในวงศ์ชมพู่ ที่ประเทศนิวซีแลนด์ราวๆกลางเดือนธันวาคมจะเป็นช่วงที่จะได้เห็นดอกมานูก้าสีอ่อนๆบานอย่างเต็มที่ ชื่อ “มานูก้า” เป็นชื่อที่เรียกโดยชาวเมารีซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของประเทศนิวซีแลนด์

คุณสมบัติในการต่อต้านแบคทีเรียของน้ำผึ้งขึ้นอยู่กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ผลิตโดยกลูโคสออกซิเดสเอนไซม์ซึ่งมีอยู่ในน้ำผึ้งโดยทั่วไป แต่ในน้ำผึ้งมานูก้ามีสารต่อต้านแบคทีเรียที่ไม่มีอยู่ในน้ำผึ้งชนิดอื่น ดังนั้นนอกเหนือจากฤทธิ์ในการต่อต้านแบคทีเรียที่น้ำผึ้งทุกชนิดมีเป็นพื้นฐานแล้ว น้ำผึ้งมานูก้าจะมีฤทธิ์ในการต่อต้านแบคทีเรียพิเศษที่เพิ่มเติมขึ้นมา มหาวิทยาลัยไวคาโต้ (Waikato University) ในประเทศนิวซีแลนด์ใช้มาตรวัด Unique Manuka Factor (UMF) เพื่อแสดงค่าคุณสมบัติการต่อต้านแบคทีเรียนี้ เฉพาะน้ำผึ้งมานูก้าที่ผ่านการรับรองโดยมหาวิทยาลัยไวคาโต้ว่ามีค่า UMF 10 ขึ้นไปเท่านั้นที่จะสามารถแสดงสัญลักษณ์ “Active UMF Manuka Honey” ได้ นอกจากนี้น้ำผึ้งมานูก้าที่ขายสำหรับการแพทย์ทางเลือกถูกกำหนดให้ต้องเป็นน้ำผึ้งที่มีค่า UMF 12 ขึ้นไป

ผลการทดลองทางคลีนิกของน้ำผึ้งมานูก้า UMF ที่มีต่อเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ

ผลการทดลองทางคลินิกของน้ำผึ้งมานูก้า UMF ที่มีต่อเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลริ (Helicobactor Pylori) ได้รับการนำเสนอโดยแพทย์หญิงฮอนมะ โชโกะ แพทย์เฉพาะทางผู้ป่วยนอกสตรี แผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลตำรวจนครบาลโตเกียว (Tokyo Metropolitan Police Hospital) โดยมีสรุปสาระสำคัญดังต่อไปนี้

[สถานการณ์การติดเชื้อ H. Pylori]

H. Pylori เป็นแบคทีเรียแกรมลบทรงกระบอกเกลียว ค้นพบโดย Warren และ Marsh ในปี 1983 สงสัยกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัยของการรับประทานอาหารและมักติดเชื้อในวัยเด็กเป็นหลัก ในรายงานของ Asaka และคณะ ปี1992 พบว่าผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปติดเชื้อนี้ถึง 80% โดยพบการติดเชื้อที่เยื่อบุกระเพาะอาหารของผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก กระเพาะอักเสบเรื้อรัง และผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารส่วนหนึ่ง คาดว่าปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ 60 ล้านคนในประเทศญี่ปุ่น แม้จะทำการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะก็ตาม แต่ก็มีแบคทีเรียที่ดื้อยาปรากฏขึ้นและกลายเป็นปัญหา

[กลุ่มเป้าหมายของการทดลองทางคลินิก]

ผู้ติดเชื้อ H. Pylori อย่างเห็นได้ชัดทั้งเพศชายและหญิง 9 ราย (ชาย 4 หญิง 5 อายุ 29-54 ปี เฉลี่ยอายุ 44 ปี)

[วิธีทดลองทางคลินิก]

ให้รับประทาน Active UMF Manuka Honey วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 หรือ 2 ช้อนชา ตอนท้องว่างเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อเนื่อง แล้วสังเกตฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori ของน้ำผึ้งมานูก้าโดยการทดสอบลมหายใจที่ใช้ยูเรียในการหาเชื้อ (Urea Breath Test) เปรียบเทียบก่อนและหลัง และหลังจากนั้นก็ให้รับประทานน้ำผึ้งมานูก้าเป็นประจำตามความชอบต่อเนื่องอีก 12 สัปดาห์และติดตามความคืบหน้าในแบบเดียวกัน

[ผลการทดลอง]

แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการทดลองแบบง่ายๆ เป็นกลุ่มรับประทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา 4 รายกับกลุ่มรับประทานน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา 4 ราย ภายหลัง 12 สัปดาห์ของกลุ่มที่รับประทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา สามารถเห็นประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อ H. Pylori ด้วยค่าทดสอบลมหายใจได้ 3 รายจาก 4 ราย ในส่วนของกลุ่มที่รับประทานน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา สามารถเห็นประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อ H. Pylori ได้ 2 รายจาก 4 ราย ในผู้เข้ารับการทดลองทุกรายไม่พบความผิดปกติในการทำงานของตับและไม่พบว่าน้ำหนักเพิ่มหรือลด

หลังเสร็จสิ้นการทดลองรักษา ได้ให้ผู้เข้ารับการทดลองรับประทานน้ำผึ้งมานูก้าทุกวันตามความชอบของแต่ละคน ในกลุ่มที่รับประทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนชาแล้วเห็นผลการยับยั้งเชื้อ 3 รายพบว่ามี 2 รายที่ยังคงประสิทธิผลการยับยั้งเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง และผู้รับการทดลอง 2 รายในกลุ่มที่รับประทานน้ำผึ้ง 2 ช้อนชาเองก็ยอบรับในประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อเช่นกัน จากการรับประทานน้ำผึ้งเป็นประจำหลังจากนั้น สังเกตพบประสิทธิผลการยับยั้งเชื้อโรคในผู้เข้ารับการทดลอง 4 รายจากทั้งหมด 8 ราย (50%) นอกจากนี้ผู้เข้ารับการทดลอง 1 รายในกลุ่มที่รับประทานน้ำผึ้ง 1 ช้อนชาเป็นผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ จากกล้องตรวจกระเพาะอาหารพบอาการอักเสบที่ผนังกระเพาะ และเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง แต่ตั้งแต่เริ่มรับประทานน้ำผึ้งมานูก้า อาการดังกล่าวก็หายไป หลังการทดลองไปแล้วผู้เข้ารับการทดลองดังกล่าวก็ยังรับประทานน้ำผึ้งมานูก้าใส่น้ำชาวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 ช้อนชาต่อเนื่อง จากการตรวจด้วยกล้องส่องกระเพาะหลังผ่านไป 1 ปี พบว่าเยื่อบุกระเพาะอาหารฟื้นสภาพกลับมาเหมือนเดิมและได้รับการวินิจฉัยว่าหายเป็นปกติ นอกจากนี้ หลังจากที่ผู้รับการทดลองรับประทานน้ำผึ้งอย่างต่อเนื่อง ในการทดสอบลมหายใจเมื่อผ่านไปหนึ่งปีครึ่งพบว่าค่าที่วัดได้ลดลงอยู่ที่ 53% จากค่าที่เคยสูงถึง 105% เมื่อวัดตอนเริ่มทดลอง น้ำผึ้งมานูก้าจึงได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิผลในการยับยั้งเชื้อโรคอันยอดเยี่ยม

[ประเด็นพิจารณา]

ประสิทธิผลการยับยั้บเชื้อ H. Pylori ที่ได้ผลจาก 5 รายใน 8 ราย (63%) ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปและไม่พบผลข้างเคียง นอกจากนี้ความสามารถในการคงประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อโรคด้วยปริมาณบริโภคประจำวันที่ 1 ช้อนชาต่อ 1 วันก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีแนวโน้วที่จะคาดหวังผลในการยับยั้งเชื้อ H. Pylori ได้จากการรับประทานน้ำผึ้งมานูก้า สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะทั่วไปฆ่าเชื้อโรคเพราะจะทำให้เกิดอาการขึ้นในระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

อ้างอิง
  1. Masahiro Asaka; Toshio Kimura; Mineo Kudo; Hiroshi Takeda; Sakiko Mitani; Tamotsu Miyazaki; Kazumasa Miki; David Y Graham. Relationship of Helicobacter pylori to Serum Pepsinogens in an Asymptomatic Japanese Population. Gastroenterology 102:760-766, 1992.
  2. Naomi Uemura; Shiro Okamoto; Soichiro Yamamoto; Nobutoshi Matsumura; Shuji Yamaguchi; Michio Yamakido; Kiyomi Taniyama; Naomi Sasaki; Ronald J Schlemper. Helicobacter pylori infection and the development of gastric cancer. The New England Journal of Medicine Vol. 345, No. 11:784-789, 2001.
  3. Willix DJ; Molan PC; Harfoot CG. A comparison of the sensitivity of wound-infecting species of bacteria to the antibacterial activity of manuka honey and other honey. J Appl Bacteriol. 1992 Nov;73(5):388-94.
  4. Peter C Molan. The antibacterial activity of honey 2.Variation in the potency of the antibacterial activity. Bee World Vol.73 (2) 1992 pp.59-76.
  5. N Al Somal, K E Coley, P C Molan, B M Hancock. Susceptibility of Helicobacter pylori to the antibacterial activity of manuka honey. J R Soc Med. 1994 January; 87(1): 9-12.
  6. Honma Shoko. Result of Clinical Study of UMF Manuka Honey toward Helicobactor Pylori. FOOD Style 21; 2004.5(Vol. 8 No. 5)
Related Products
  • ด็อกเตอร์บี น้ำผึ้งมานูก้า (Dr.Bee Manuka Honey)


Related Information
  • บทความ
    ระบบภูมิคุ้มกัน


  • บทความ
    ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติกับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง


  • บทความ
    การปรับสมดุลภูมิคุ้มกันโรค


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution