วัตถุดิบของเรา

Milky power


มิลค์กี้พาวเวอร์ คือผงเวย์โปรตีนเข้มข้น 100% ที่สกัดจากนมวัวพรีเมี่ยมและประกอบไปด้วยสารสกัดธรรมชาติที่อยู่ในนมวัว อุดมคุณค่าด้วย ImmunoglobinG (IgG), Seretory IgA (s-IgA) และ Lactoferrin โดยมิลค์กี้พาวเวอร์สามารถนำไปผลิตเป็นอาหารเสริม รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มแบบเย็น

คุณประโยชน์


ในกลุ่มคนสูงอายุมักจะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ อาการติดเชื้อในกระเพาะอาหารและโรคลำไส้อักเสบ โดย Immunoglobulins หรือแอนติบอดีเป็นไกลโคโปรตีนที่ได้มาจากเม็ดเลือดในระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีหน้าที่ในการจับสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย อีกทั้ง Immunoglobulins ที่มีอยู่ในนม จะเป็นเกราะป้องกันระบบทางเดินอาหารและเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

Immunoglobulins ที่มีอยู่ในนมวัวและน้ำนมเหลือง (Colostrum) นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการจับเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหลายชนิด รวมถึงโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร โดยมีการศึกษาพบว่า Immunoglobulins เข้มข้นที่สกัดจากนมวัวและน้ำนมเหลืองสามารถป้องการและลดอาการอาหารเป็นพิษที่มีในเด็กทารกและผู้ใหญ่ได้2 ยกตัวอย่างเช่น การป้องกันและลดอัตราการเกิดอาการท้องร่วงของนักเดินทาง3 โรคลำไส้อักเสบจากเชื้อโรตาไวรัส7, 8 เชื้อ enteropathogenic E. coli infection6 รวมถึงลดอัตราการเกิดจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรคฟันพุ4 และลดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง5 เป็นต้น9

Lactoferrin เป็นไกลโคโปรตีนที่จับกับธาตุเหล็กตามธรรมชาติ ซึ่งมักพบได้ในมนุษย์และนมวัวที่จะเป็นเกราะป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน ผ่านสารต้านแบคทีเรียและสารต้านอนุมูลอิสระ10

ประสิทธิภาพของ IgG กับการต้านเชื้อโรคได้มากกว่า 20 ชนิด


ในปี ค.ศ. 2001 มีวารสารทางวิชาการ “Food Research International” กล่าวว่า IgG ที่สกัดจากนมวัวในประเทศนิวซีแลนด์นั้นสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้มากถึง 19 ชนิด

มหาวิทยาลัย Juntendo ในประเทศญี่ปุ่นได้ทำการทดลองและมีการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ “Food Science & Nutrition” ในปี ค.ศ. 2019 เกี่ยวกับประสิทธิภาพของ IgG ที่สกัดจากนมวัวในประเทศนิวซีแลนด์พบว่า IgG สามารถต้านเชื้อไมโครแบคทีเรียที่ไม่ใช่วัณโรค ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสามในประเทศญี่ปุ่นและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี

เชื้อโรค

อาการ และอาการแสดงที่มีผลมาจากการติดเชื้อ

Bacillus cereus อาเจียน ท้องเสียหรืออาการปวดท้อง สาเหตุจากอาหารเป็นพิษ
Campylobacter jejuni โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
Candida albicans อาการติดเชื้อในเยื่อบุ และโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
Escherichia coli อาหารเป็นพิษ และภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Escherichia coli 0157:H7 อาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง และอาการฮีโมไลติกยูรีมิก
Helicobacter pylori โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
Klebsiella pneumoniae โรคปอดบวม
Listeria monocytogenes โรคไข้สมองอักเสบ และโรคข้ออักเสบ
Propionibacterium acnes สิว
Salmonella enteritidis อาหารเป็นพิษ
Salmonella typhimurium อาหารเป็นพิษ
Staphylococcus epidermidis โรคติดเชื้อฉวยโอกาส และอาการอักเสบที่เป็นหนองเกิดจากการติดเชื้อ
Streptococcus agalactiae โรคเต้านมอักเสบ และการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
Streptococcus mutans โรคฟันผุ
Streptococcus pneumoniae โรคปอดบวม และโรคข้ออักเสบ
Streptococcus pyogenes โรคไตอักเสบ และโรคคออักเสบ
Yersinia enterocolitica โรคลำไส้อักเสบ อาหารเป็นพิษและภาวะข้อต่ออักเสบ
Haemophilus influenzae โรคหลอดลมอักเสบ
Stahylococcus aureus อาการอักเสบที่เป็นหนองเกิดจากการติดเชื้อ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคอาหารเป็นพิษ
Mycobacteria

เชื้อไมโครแบคทีเรียที่ไม่ใช่เชื้อวัณโรค


รายงานจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Juntendo ประเทศญี่ปุ่น

References

  1. Crane, S.J. & Talley, N.J. (2007). Clinics in Geriatric Medicine, 23: 721-734.
  2. Korhonen, H., Marnila, P. and Gill, H.S. (2000). British Journal of Nutrition, 84(suppl. 1): S75-S80.
  3. McConnell, M.A. et. al. (2001). A comparison of IgG and IgG1 activity in an early milk concentrate from non-immunised cows and a milk from hyperimmunised animals. Food Research International, 34: 255-261.
  4. Tacket, C.O., et. al. (1988). Protection by milk immunoglobulin concentrate against oral challenge with enterotoxigenic Escherichia coli. New England Journal of Medicine, 318: 1240-1243.
  5. Shimazaki, Y. et. al. (2001). Passive immunization with milk produced from an immunized cow prevents oral recolonization by Streptococcus mutans. Clinical and Diagnostic Laboratory Immunology, 8: 1136-1139.
  6. Van Dissel, J.T. et. al. (2005). Bovine antibody-enriched whey to aid in the prevention of a relapse of Clostridium difficile-associated diarrhoea: preclinical and preliminary clinical data. Journal of Medical Microbiology, 54: 197-205.
  7. Hilpert, H. et. al. (1977). Bovine milk immunoglobulins (Igs), their possible utilisation in industrially prepared infants milk formulae. In L. Hambraeus, L. Hanson, H. & McFarlane, Proceedings of the XIIIth Symposium of the Swedish Nutrition Foundation, Food and Immunology (pp. 182-192) Stockholm, Sweden: Swedish Nutrition Foundation.
  8. Bogstedt, A.K. et. al. (1996). Passive immunity against diarrhoea. Acta Paediatrica, 85: 125-128.
  9. Hilpert, H. et. al. (1987). Use of bovine milk concentrate containing antibody to rotavirus to treat rotavirus gastroenteritis in infants. Journal of Infectious Diseases, 156: 158-166.
  10. Mehra, R. et. al. (2006). Milk immunoglobulins for health promotion. International Dairy Journal, 16: 1262-1271.
  11. Steijns, and van Hooijdonk, 2000, British Journal of Nutrition, 84(Suppl. 1): S11-S17.
Related Products
  • IgG30+ Firstmil Premium


Related Information
  • งานวิจัยตีพิมพ์
    A comparison of IgG and IgG1 activity in an early milk concentrate from non-immunised cows and a milk from hyperimmunised animals


ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution