วัตถุดิบของเรา

สารสกัดจากดอกซากุระ

Cherry Blossom Extract

ซากุระเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่คนญี่ปุ่นคุ้นเคยเป็นอย่างดี ดอกซากุระบางชนิดสามารถนำมาแปรรูปโดยนำไปแช่ในน้ำส้มสายชูเพื่อนำมารับประทานได้ ชาซากุระเป็นชาแบบดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นที่มักจะนำไปเสิร์ฟในวาระการเฉลิมฉลองเช่น พิธีหมั้นและพิธีแต่งงาน การนำดอกซากุระมาผลิตเป็นชาซากุระ รวมถึงการนำไปแช่ไว้ในน้ำส้มสายชูหมักจากบ๊วยแบบญี่ปุ่น ทำให้ได้สารสกัดดอกซากุระในน้ำส้มบ๊วยออกมาเป็นผลพลอยได้ จากผลการวิจัยที่ผ่านมา พบสารที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดดอกซากุระในน้ำส้มบ๊วย ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับไวน์แดงซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ก็พบว่าสารสกัดดอกซากุระในน้ำส้มบ๊วยมีความสามารถในการกำจัดซูเปอร์ออกไซด์อาเนี่ยน (Superoxide Anion) ได้มากกว่าจากการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยลิควิดโครมาโตกราฟีแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่สกัดจากฟีนอลซึ่งเตรียมมาจากสารสกัดดอกซากุระในน้ำส้มบ๊วยมีไซอานิดิน-3-กลูโคไซด์ (Cyanidin-3-glucoside) ไซอานิน-3-รูติโนไซด์ (Cyanidin-3-rutinoside) กรดคาเฟอิค คาเฟออยกลูโคสและเควอร์ซิติน กลูโคไซด์ (Quercetin glucoside) เป็นสารประกอบหลัก ซึ่งสารเหล่านี้มีความสามารถในการกำจัดซูเปอร์ออกไซด์อาเนี่ยน

ความแก่ชราของผิวจากภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) สามารถก่อให้เกิดจุดหรือรอยด่างสีน้ำตาลบนผิวได้ สาเหตุก็เนื่องมาจากภาวะเครียดไกลเคชั่น (Glycation Stress) ที่เกี่ยวข้องกับความแก่ชราของผิวหนังจากการสะสมของ Advanced Glycation End Products (AGEs*) ในรายงานล่าสุดแสดงให้เห็นว่า AGEs เป็นตัวการทำให้ผิวในชั้นหนังแท้กลายเป็นสีเหลือง นอกเหนือจากการรับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตจากแสงแดดมากเกินไปแล้ว ยังพบว่า AGEs ยังสะสมตัวที่ข้างในผิวหนังชั้นบนสุดอีกด้วย ซึ่งในท้ายที่สุดปัจจัยเหล่านี้จะไปลดความเต่งตึงของผิว ทำให้ผิวดูไม่มีชีวิตชีวาและทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง การต่อต้านปฏิกิริยาไกลเคชั่นนอกจากจะช่วยยับยั้งการสร้างเมลานินแล้ว ก็ยังถือเป็นมาตรการป้องกันความแก่ชราที่สำคัญเพื่อคงสภาพผิวที่แข็งแรงเอาไว้อีกด้วย สารที่สกัดได้จากดอกซากุระ (Prunus lannesiana) แสดงให้เห็นว่ามีฤทธิ์ในการควบคุมการผลิต AGE และควบคุม AGE-induced fibroblast apoptosis (กระบวนการตายของเซลล์ที่สร้างเนื้อเยื่อซึ่งมีสาร AGE เป็นตัวเหนี่ยวนำ) ด้วยเหตุนี้สารสกัดจากดอกซากุระจึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีประสิทธิภาพต่อความเสียหายบนผิวหนังอันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นตามวัย

* AGEs คืออะไร

AGEs (Advanced Glycation End Products) เป็นผลผลิตปลายทางของกระบวนการไกลเคชั่น หมายถึงผลผลิตที่สร้างขึ้นจากการที่น้ำตาลเข้าไปทำปฏิกิริยากับโปรตีน ในงานวิจัยล่าสุดพบว่า AGEs เป็นสารต้นเหตุที่ทำให้การแก่ชราคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ในการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มทดลองคู่ขนานแบบที่มีการสุ่มใช้ยาหลอกเพื่อให้เห็นผลต่างพบว่าอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากลิงกอนเบอร์รี่และสารสกัดจากดอกซากุระผสมกับกรดซิตริกและแคลเซียมในรูปแบบเม็ดที่เคี้ยวได้มีฤทธิ์ต่อต้านปฏิกิริยาไกลเคชั่นอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งอาหารเสริมดังกล่าวก็ยังมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ชี้แนะให้เห็นว่าอาหารที่ประกอบด้วยสารสกัดจากลิงกอนเบอร์รี่ สารสกัดจากดอกซากุระ กรดซิตริกและแคลเซียมอาจช่วยผ่อนคลายภาวะเครียดไกลเคชั่นและยับยั้งการสะสมสาร AGEs ในผิวหนัง

อ้างอิง
  1. Matsuura R; Moriyama H; Takeda N; Yamamoto K; Morita Y; Shimamura T; Ukeda H. Determination of antioxidant activity and characterization of antioxidant phenolics in the plum vinegar extract of cherry blossom (Prunus lannesiana). J Agric Food Chem. 2008 Jan 23, 56(2):544-549. Epub 2007 Dec 20.
  2. Shimoda H; Nakamura S; Morioka M; Tanaka J; Matsuda H; Yoshikawa M. Effect of Cinnamoyl and Flavonol Glucosides Derived from Cherry Blossom Flowers on the Production of Advanced Glycation End Products (AGEs) and AGE-induced Fibroblast Apoptosis. Phytother Res. 2011 Feb 10. doi: 10.1002/ptr.3423.
  3. Yoshikazu Yonei; Masayuki Yagi; Mari Ogura; Haruhi Sugimura. Anti-Glycation Activity and Safety of Foods Containing Lingonberry Extract and Cherry Blossom Extract and Chewable Tablets Containing Citric Acid and Calcium −A Placebo-Controlled Randomized Single-Blind Parallel Group Comparative Study. Anti-Aging Medicine 10(2):21-35, 2013.
  4. Yook HS, Kim KH, Park JE, Shin HJ. Antioxidative and antiviral properties of flowering cherry fruits (Prunus serrulata L. var. spontanea). Am J Chin Med. 2010;38(5):937-48.
Related Products
  • เซเลบริตี้ ฮานะ พลาเซนต้า


Related Information
ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกับผิว วัตถุดิบ
APCGCT
Gene Therapy Research Institution